• Home
  • Menu
    • บทความ : คุณหมอผึ้ง
    • บทความ : ปฐมวัยไทยแลนด์
    • นานาพาเที่ยว
    • เส้นทางคุณแม่
  • บทความ : When I Grow Up
    • เลือกโรงเรียนให้ลูก
  • Contact Us
  • Gallery
  • PPCLUB Gallery
  • เพิ่มเติม
    • Home
    • Menu
      • บทความ : คุณหมอผึ้ง
      • บทความ : ปฐมวัยไทยแลนด์
      • นานาพาเที่ยว
      • เส้นทางคุณแม่
    • บทความ : When I Grow Up
      • เลือกโรงเรียนให้ลูก
    • Contact Us
    • Gallery
    • PPCLUB Gallery
  • ลงชื่อเข้าใช้งาน
  • สร้างบัญชี

  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อเข้าใช้ในฐานะ:

  • filler@godaddy.com


  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อออก

ลงชื่อเข้าใช้ในฐานะ:

filler@godaddy.com

  • Home
  • Menu
    • บทความ : คุณหมอผึ้ง
    • บทความ : ปฐมวัยไทยแลนด์
    • นานาพาเที่ยว
    • เส้นทางคุณแม่
  • บทความ : When I Grow Up
    • เลือกโรงเรียนให้ลูก
  • Contact Us
  • Gallery
  • PPCLUB Gallery

บัญชี

  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อออก

  • ลงชื่อเข้าใช้งาน
  • บัญชีของฉัน

เด็กbully ควร ลงโทษ หรือเยียวยา ?

โดย คุณหมอผึ้ง จิตแพทย์เด็ก

December 2020

เด็กbully หมายถึงเด็กที่แกล้ง รังแก หรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นทางร่างกาย หรือทางใจ

จากประสบการณ์ตรง คือเด็กที่bullyถ้าช่วยเขาตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆน่าจะเป็นการดี เนื่องจาก

สังเกตเห็นได้ง่ายไม่ซับซ้อน โดยมากจะเป็นการรังแกทางร่างกาย และผู้ใหญ่ก็ช่วยป้องกันได้ง่ายกว่า

เพราะเด็กยังเรี่ยวแรงไม่มากค่ะ

เรื่องนี้อยากเล่าจากประสบการณ์ตรงค่ะ คือตอนที่เป็นเด็กอยู่ป.2🍏 เป็นเด็กที่ไปรังแกเพื่อน

คุณครูใช้วิธีจับนั่งใกล้กับโต๊ะคุณครู และลงโทษให้คัดลายมือ 100 จบว่า "ต่อไปนี้จะไม่รังแกเพื่อนอีก"

คุณครูจะคอยมาดูถ้าหากคัดเละเทะ คุณครูก็จะให้ลบเขียนใหม่ เขียนให้อ่านออก บรรทัดที่อ่านไม่ออกก็ให้ลบ

แล้วเขียนใหม่ ถ้าคัดสวยๆได้ก็จะดี และระหว่างพักห้ามไม่ให้เพื่อนมาเล่นด้วยและห้ามไม่ให้ไปเล่นกับเพื่อน

เป็นเวลาสองสัปดาห์ ทั้งตอนเช้ากลางวันและเย็นถ้าหากคุณครูเห็นคุณครูจะมาจูงมืออย่างนุ่มนวลให้มานั่งที่โต๊ะ

แล้วให้คัดลายมือต่อ ทำอย่างนี้ทุกครั้งเมื่อครบสองอาทิตย์แล้วคุณครูก็ให้เล่นกับเพื่อนได้หลังจากนั้น

เด็กผู้หญิงคนนี้ก็พยายามจะไม่รังแกเพื่อนอีก

⭐️⭐️ที่สำคัญ คุณครูคงจะคอยจับตามองเราตลอดเวลา เพราะคราใดที่คิดว่าคุณครูไม่เห็น พยายาม

จะแอบเล่นกับเพื่อน คุณครูเห็นทุกครั้ง จนเราถอดใจไม่ไปเล่นกับเพื่อนเอง หันกลับมาตั้งใจคัดลายมือต่อ

แล้วซึมซับข้อความนั้นไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อครบสองอาทิตย์คุณครูก็เอาที่คัดลายมือมาตรวจอีกครั้ง 

ตรวจอยู่พักหนึ่ง ท่านกล่าวว่า “ใช้ได้ ไปเล่นกับเพื่อนได้ “ ตอนนั้นดีใจมากค่ะ ตอนนี้เป็นผู้ใหญ่แล้วก็รู้สึกได้

ถึงความรักและความเมตตาของคุณครูค่ะ

⭐️⭐️⭐️ และคุณครูไม่ให้ความสนใจเรื่องการรังแกนี้มากเกินควรค่ะ คือไม่โวยวาย ไม่พูดถึงเรื่องนี้อีก

หลังจากที่จัดการเรื่องราวแล้วค่ะ

🍏ถ้าหากยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ผู้ใหญ่ควรช่วยสังเกตดูเวลาเด็กเล่นกันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 

แล้วดูว่าคนไหนเป็นหัวโจกแล้วทั้งลงโทษและเยียวยากับเด็กคนนั้นด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น 

ซึ่งก็จะเป็นตัวอย่างให้เด็กคนอื่นๆด้วย

🍏🍏ส่วนเด็กที่เป็นหัวโจกหรือรังแกเพื่อนส่วนหนึ่งเขามีความคับข้องใจในการควบคุมตนเอง

ไม่ให้ทำรุนแรงกับผู้อื่น แต่เนื่องจากไม่มีใครไปยับยั้งเขา สอนให้เขายับยั้งตนเอง เขาก็จะทำซ้ำๆ

อย่างนั้นเรื่อยๆจนเคยชินและยากที่จะแก้ไข หรือแก้ไขได้ยากดังนั้นควรจะช่วยเหลือเด็กทั้งฝ่ายที่ถูกรังแก

และฝ่ายที่เป็นคนรังแกผู้อื่นตั้งแต่เด็กยังมีอายุน้อยน้อยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่หนักเช่นดังเป็นข่าวต่างๆ

🎄หลายประเทศใช้วิธีบำบัดให้เด็กรู้สึกว่าแย่อย่างไรบ้างเวลาที่ถูกรังแกซึ่งดูจากvdo clip เด็กก็เหมือนจะเข้าใจ

และไม่รังแกเพื่อนอีกค่ะ แต่จากประสบการณ์ตรงวิธีที่นุ่มนวลก็เป็นวิธีการที่ดีมาก คุณครูเฝ้าจับตาดูเด็ก

ที่รังแกเพื่อนตลอดเวลาไม่ให้รังแกได้อีก ไม่ให้เล่นกับเพื่อนโดยเด็กไม่รู้สึกว่าถูกจับตาดู และคุณครูก็เข้าไป

ระงับเหตุทุกครั้งอย่างนุ่มนวลค่ะ

🌼เด็กที่ใช้ความรุนแรงกับคนอื่น สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องมาจากเด็กแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีไม่เป็น หรือสื่อสารไม่เป็น

🌼🌼 นอกจากนี้การที่ผู้ใหญ่ให้ความเอาใจใส่เด็ก ไม่ทอดทิ้ง ไม่ใช้ความรุนแรงกับเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ

เช่น ไม่ตี ไม่ตวาด หรือด่าว่า ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นได้ค่ะ

😱โดยมากผู้ใหญ่(พ่อแม่และครูหรือญาติผู้ใหญ่ หรือแม้แต่เด็กๆด้วยกันก็ไม่ชอบพฤติกรรมbully แต่การ

กระทำที่แสดงออกมา มักจะเป็นการแสดงถึงไม่ชอบตัวตนของเด็กคนนั้น เช่น พูดว่าลูกทำแบบนี้น่าอายมาก

แม่ไม่รักแล้ว คอยพูดซ้ำๆว่า “ เธออย่าไปทำแบบนี้อีกนะ” ซึ่งถ้าทำให้เด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่ยังรักเด็ก แต่อยากให้เด็ก

เปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ แบบที่คุณครูทำก็น่าจะดีค่ะ ถ้าเป็นเด็กโตครูอาจจะกลัวไม่กล้าเข้าไปจัดการโดยเฉพาะ

ครูผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย แต่ถ้าหากเด็กได้รับความรัก ความเมตตา และการเยียวยาพร้อมกับการถูกลงโทษ

อย่างพอเหมาะ เด็กก็จะสามารถพัฒนาไปได้

🍎เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รังแกกันอย่างรุนแรง บางครั้งเด็กอาจไม่ได้รับโอกาสให้ เล่าถึงเหตุการณ์ ทำให้เด็ก

ไม่ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง

🍎🍎เด็กอาจเป็นเด็กที่ถูกแอบแหย่หรือถูกรังแกจากเด็กที่โตกว่ามาก่อน การที่ผู้ใหญ่ฝึกสติและให้เด็ก

ฝึกด้วยเด็กจะได้เรียนรู้แบบอย่างจากผู้ใหญ่และเรียนรู้แนวทางของตนเองในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี

คือไม่ยินยอมให้ถูกแกล้ง แต่ก็ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

🍏🍏 เมื่อเด็กถูกรังแกทำอย่างไร?

☘️ควรสอนให้เด็กรู้จักป้องกันตัวเอง เช่น เรียนศิลปะการป้องกันตัว สอนให้กล้าแสดงความต้องการหรือจุดยืน

ของตนเองออกมา มีทีท่าที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการถูกรังแกค่ะ

☘️☘️ในเด็กโต ยากมาก เช่นเด็กถูกแกล้งไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย บังคับให้ไปทำอะไรที่ไม่ดี คือคุณครูไม่เห็นชัดเจน

และอยู่นอกสายตาของผู้ใหญ่ได้ง่าย

☘️☘️☘️อาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนที่เรียน เปลี่ยนเพื่อน แต่ก็ต้องใช้เวลา และเด็กที่เป็นหัวโจกหากไม่ได้รับ

การลงโทษและเยียวยา เด็กก็จะยังคง พฤติกรรมนั้น และเสียโอกาสในการพัฒนาตนเองต่อไป

🌌สรุป

1.คอยสังเกตและป้องกันไม่ให้เกิดการรังแกกัน

2.ให้เด็กและผู้ใหญ่ฝึกสติ เพื่อเรียนรู้แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี คือไม่ยินยอมให้ถูกแกล้ง แต่ก็ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

3.ลงโทษอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ให้เด็กเล่นกับเพื่อนเป็นเวลาสองอาทิตย์พยายามทำให้ได้ด้วยความนุ่มนวลด้วยความรักและความเมตตา

4.เมื่อไม่ได้เล่นกับเพื่อนครบ 2 สัปดาห์แล้ว และเด็กไม่รังแกเพื่อนอีก จากนั้นก็ให้เด็กกลับมาเล่นกับเพื่อนได้

5.รักและเมตตาเด็กเช่นเดิม

6.เยียวยาเด็ก คือให้เด็กเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น รับฟังความคับข้องใจของเด็ก สอนวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

7.คอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างลับๆ ไม่ให้เด็กรู้ตัวว่าถูกกำลังถูกจับตามองอยู่และ ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

8.เมื่อเวลาผ่าน เช่น1/2ปี ,1ปี เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น การชื่นชมและมอบบัตรเกียรติยศสำหรับความประพฤติของเด็กที่ดีขึ้น จะช่วยให้เด็กพัฒนาไปได้ดีค่ะ

Follow Us

ลิขสิทธิ์ ©2025 whenigrowuppage.com - สงวนสิทธิ์ทุกประการ

My Folder

  • Gallery

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราาใช้คุกกี้ในการวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดีขึ้น เมื่อยอมรับการใช้งานคุกกี้ของเรา เราจะรวบรวมข้อมูลของคุณกับข้อมูลผู้ใช้อื่นๆ ทั้งหมด

ยอมรับ